เถาวัลย์เปรียง |
“เถาวัลย์เปรียง” มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปได้แก่ ทางอีสานเรียกว่า เครือตาป่า เครือตับปลา เครือเขาหนัง เถาวัลย์เปรียงแดง เถาวัลย์เปรียงขาว , เถาตาปลา พานไสน นครศรีธรรมราชเรียก ย่านเหมาะ มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า จิวเวลไวน์ (Jewel Vine) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เดอริส สแคนเดนส์ (Derris scandens Benth) จัดอยู่ในวงศ์เล็กกูมิโนซี (LEGUMINOSAE) มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน ตะวันออกของอินเดีย มาเลเซีย จีน และทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
เถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เลื้อยได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียว ทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว ลักษณะชอบเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ ถ้ามีเถาที่มีลักษณะใหญ่ เถามักจะบิด ชอบอากาศเย็น แต่แสงแดดจัด ทนแล้งได้ดี ปลูกในที่แล้งดอกจะดก แต่จะมีขนาดเล็กกว่าปลูกในที่ชุ่มชื้น ใบ เป็นใบประกอบด้วยใบย่อย 7-9 ใบ ลักษณะเป็นใบกลมและเล็ก คล้ายใบของต้นอัญชัน รูปรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ใบหนาแข็ง สีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบเรียบมัน ขอบเรียบ ปลายแหลมเล็กน้อย ดอก ออกเป็นช่อห้อย ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกมี 5 กลีบ คล้ายดอกถั่ว สีชมพูอ่อนแกมขาว ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น จะออกเป็นช่อสีขาวห้อยลง ส่วนกลีบรองกลีบดอกมีสีม่วงดำ ตรงปลายกลีบดอกจะเป็นสีชมพูเรื่อๆ จะออกดกมากในช่วงเดือน กันยายน-พฤศจิกายน และจะส่งกลิ่นหอมอ่อนๆตั้งแต่ตอนเย็น ผล ออกเป็นฝักแบนๆ ภายในจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 2-4 เมล็ด ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด หรือแยกไหลใต้ดิน
ดอกของเถาวัลย์เปรียง |
ประโยชน์ของเถาวัลย์เปรียง
เถา มีรสเฝื่อนเล็กน้อย จึงมีสรรพคุณในการใช้เป็นยาถ่ายเสมหะลงสู่ทวารหนัก ถ่ายเส้นและกษัย รักษาเส้นเอ็นขอด รักษาปัสสาวะพิการ ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด โรคไอ โรคหวัด ราก มีสารพวก Flavonol ที่มีชื่อว่า สคาเดอนิน และนันลานิน (scadenin, nallanin) ใช้เป็นยาเบื่อปลา แต่ไม่มีคุณสมบัติฆ่าแมลง ในตำรับยาไทย ใช้เป็นยารักษาอาการไข้ เป็นยาอายุวัฒนะ และขับปัสสาวะ มีคำแนะนำให้ใช้เถา นำมาคั่วชงน้ำกินแก้ปวดเมื่อย
สรรพคุณ เถาวัลย์เปรียง |
สรรพคุณในทางเป็นยาสมุนไพร
1. ขับโลหิตเสียของสตรี วิธีใช้ ใช้เถาวัลย์ทั้งห้าสดๆต้มกับน้ำ นำน้ำที่ได้มาใช้ดื่มแทนน้ำ
2. ทำให้มดลูกเข้าอู่ วิธีใช้ ให้นำเถาสดมาทุบให้ยุ่ย แล้ววางทาบลงบนหน้าท้องนำหม้อเกลือที่ร้อนมานาบลงไปบนเถาวัลย์เปรียง จะช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น