วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

ปลูกพืชกลับหัว ใช้น้ำน้อย ไม้ประดับก็ปลูกได้ พืชสวนครัวก็ปลูกดี

การปลูกพืชกลับหัวเพื่องานออกแบบ

การปลูกพืชกลับหัวก็เป็นอีกนวัตกรรมที่ให้ความสนใจกันในปัจจุบัน  ทั้งการปลูกพืชผักสวนครัว และการปลูกไม้ประดับ  เพื่อการตกแต่งก็เป็นอีกแนวทางที่น่าสนใจ  การปลูกพืชกลับหัวนั้่นถือเป็นอีกวิธีการปลูกที่ให้ผลดีในด้านการประหยัดพื้นที่ ประหยัดน้ำ และปุ๋ย  ซึ่งวิธีการและความเป็นมาของการปลูกนั้น  ขออ้างอิงตามงานวิจัย ของ ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน ม.แม่โจ้ ค่ะ

ที่มาของงานวิจัย   : นักวิทยาศาสตร์...จาก องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการ ทดลองปลูกต้นมอสในอวกาศ ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่มีแรงโน้มถ่วง โดยได้ตั้งสมมุติฐานว่า...ต้นมอสน่าจะมีการเจริญเติบโตแบบสุ่ม...

การปลูกพืชกลับหัว

แต่ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า...ต้นมอสมีการเจริญเติบโตในลักษณะเกลียวก้นหอย อีกทั้งยังพบว่าอวัยวะต่างๆภายในเซลล์ รวมถึง...สตาโทลิท (statolith) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีการเก็บสะสมแป้งไว้ ทำให้ สามารถรับรู้ทิศทางของแรงโน้มถ่วงได้ โดยมีการ จับกลุ่มกันในรูปแบบเฉพาะ ซึ่งผลการทดลองนี้บ่งชี้ว่า...กลไกการตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงในพืช...มีความซับซ้อนมากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้...

แปลงทดลองปลูกพืชกลับหัวใน ม.แม่โจ้


ด้วยเหตุผลนี้เองทาง...มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดย ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี สาขาพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้ทำการวิจัย โดย ทดลองปลูกพืชกลับหัว...เริ่มจากนำวัสดุปลูก เช่น ขุยมะพร้าวหรือดิน ใส่ลงในกระถางให้เต็ม แล้ว นำแผ่นกระเบื้องสี่เหลี่ยมมาปิดด้านบนของกระถาง ใช้นิ้วหนีบกระเบื้องไว้กับกระถางเพื่อป้องกันวัสดุปลูกร่วงหล่นแล้วคว่ำกระถางเพื่อให้ก้นกระถางหันขึ้นด้านบน

จากนั้นนำ ต้นกล้าพืช ที่ใช้เป็นจำพวก พริก กะเพรา โหระพา มะเขือเทศ ฯลฯ ลงปลูกในรูก้นกระถาง ก่อนจะรดน้ำให้ปุ๋ยตามปกติ ส่วนในกรณีที่ปลูกใน ขุยมะพร้าวควรรดด้วยสารละลายปุ๋ย รอจนต้นโตสูง อย่างน้อย 1 ฟุต แล้วจึงพลิกกระถางเพื่อให้ต้นพืชกลับหัว ด้วยการเจาะรูร้อยลวดแขวนไว้ ในพื้นที่ 8×8 เมตร ประมาณ 40 กระถาง อีกทั้งด้านบนของกระถางยัง ทดลองปลูกผักขนาดเล็กชนิดอื่น เช่น ผักสลัด คะน้า ฯลฯ ได้อีกด้วย โดยทำการสังเกตการเจริญเติบโตของพืชกลับหัวนี้...

...ตามปกติ พืชลำเลียงน้ำจากดินขึ้นไปเลี้ยงส่วนยอด คือ ในกระบวนการลำเลียงน้ำและสารอาหารจากดินขึ้นสู่ส่วนยอดนั้นพืชต้องอาศัยการคายน้ำออกจากใบ ซึ่งจะ ก่อให้เกิดแรงดึงน้ำจากด้านล่างเข้ามาแทนที่น้ำส่วนที่หายไปในท่อลำเลียงน้ำ ที่เรียกว่า ไซเลม (Xylem)...


ดร.สิริวัฒน์ บอกอีกว่า จากการทดลอง พบการตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของพืช โดยกลไกในการรับรู้มีอิทธิพล และกำหนดทิศทางการเจริญเติบโตของพืช โดยลำต้นจะมีการ เจริญเติบโตในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วง ทำให้เปรียบเทียบได้กับในกรณีที่ต้นพืชมี การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการเจริญเติบโต เช่น ต้นมีการหักล้มลงไปราบกับพื้น ลำตัวจะสามารถงอตัวขึ้นมาใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง





“...สตาโทลิท ที่อยู่ใน เซลล์เอนโดเดอมิส (endodermis) ของลำต้นจะมีการเปลี่ยนตำแหน่งการวางตัวในเซลล์ และจะชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การกระจายตัวของฮอร์โมนออกซิน (Auxin) ในลำต้น โดยทำให้ด้านล่างของ ลำต้น มีการสะสมของออกซินมากกว่าปกติ เซลล์ด้าน ล่างจึงมีการยืดตัวมากกว่าเซลล์ด้านบน ลำต้นจึงเจริญเติบโตในทิศทางตรงกันข้ามแรงโน้มถ่วงได้อีกครั้ง...” ดร.สิริวัฒน์กล่าวและว่า

...สาเหตุทั้งหมดเกิดจาก รากพืชตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วง ทำให้เจริญเติบโตตามแรงโน้มถ่วงเนื่องจากกลุ่มเซลล์ที่บริเวณหมวกรากมีการสะสม สตาโทลิท ซึ่ง ทำหน้าที่ในการรับรู้ทิศทางของแรงโน้มถ่วง โดยเซลล์จะตก ลงตามทิศทางนั้น และ ส่งสัญญาณควบคุมการกระจายตัวของฮอร์โมนออกซิน ภายในราก เพื่อให้รากมีการเจริญเติบโต ด้วยเหตุนี้เองรากพืชที่งอกใหม่ออกจากเมล็ดจึงงอกลงดินเสมอ...

ข้อดี...ในการทดลองปลูกพืชกลับหัวนี้ ช่วยให้ประหยัดพื้นที่การปลูกแล้ว พบว่า...น้ำและธาตุอาหารไหลไปเลี้ยงส่วนยอดได้มีประสิทธิภาพมากกว่าปกติ สามารถบรรเทาปัญหาการหยุดชะงักของการลำเลียงน้ำ และธาตุอาหารอันมีสาเหตุมา จากการเกิดช่องว่างในไซเลมได้ เนื่องจากในสภาพที่ต้นพืชกลับหัว แรงโน้มถ่วง จะสามารถช่วยผลักน้ำให้ไหลลงไปเลี้ยงส่วนยอด


นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า การปลูกพืชแบบกลับหัวยังช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืชและการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้ดีอีกด้วย ผู้สนใจต้องการไปดูของจริง หรือข้อมูลเพิ่มเติม กริ๊งกร๊างหา ดร.สิริวัฒน์ 0-5387-3380, 08-6195-7423 ในวันและเวลาราชการ.

สุดท้ายด้วยภาพการปลูกพืชกลับหัว  ไอเดียบรรเจิดคร๊าาาาา
ตัวอย่างการปลูกพืชกลับหัวแนว ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม