วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดูแลก้อนเห็ดยังไงให้ไร้ราเขียว



สาเหตุการระบาดราเขียวในโรงเห็ด

 1.เป็นฟาร์มเห็ดเก่า  ฟาร์มไม่สะอาดไม่มีการทำลายซากก้อนเชื้อเห็ดเก่า ทำให้สปอร์ของราเขียวเลยฟุ้งกระจายไปยังเชื้อที่อยู่ในโรงบ่ม และ โรงเพาะเห็ดได้

 2.เมื่อเปิดดอกเห็ดแล้ว มีสปอร์ของราเขียวเข้าติดเชื้อราเขียวที่ปากถุงทำให้ดอกเห็ดไม่เจริญ เน่า ข้อนี้พบได้บ่อย แต่โชคดีที่ไม่ร้ายแรงเหมือนข้อ 2 และ 3 เพราะยังสามารถป้องกันการรุกลามโดยนำถุงเชื้อที่ติดเชื้อราเขียวไปทำลายทิ้ง(นึ่งให้เชื้อตาย ก่อนนำถุงเชื้อไปฝังทิ้งให้ห่างฟาร์มเห็ด)

 3.ระบาดโดยคนเป็นพาหะนำเชื้อรา  เชื้อราเขียวระบาดจากการติดจากคนเก็บดอกเห็ดเก็บในโรงที่ราเขียวระบาด แล้ว ไปเก็บในโรงอื่นๆ ทำให้ราเขียวระบาดไปทั่วฟาร์ม

 4.ระบาดโคยสัตว์เป็นพาหะ หนูแทะเมล็ดข้าวฟ่างที่เป็นหัวเชื้อเห็ดที่ปากถุง สปอร์ติดมากับฟัน เท้าหนู จึงทำให้ราเขียวเข้าทำลายก้อนเห็ดอย่างรวดเร็ว


การกำจัดราเขียวในเห็ดด้วยจุลินทรีย์พลายแก้ว(เชื้อพลายแก้ว)


ข้อมูลเบื้องต้น  จุลินทรีย์พลายแก้ว คืออะไร

          จุลินทรีย์ พลายแก้ว” ถูกค้นพบโดย นายพลายแก้ว เพชรบ่อแก นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และท่านอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ ได้นำมาพัฒนาและเผยแพร่ใช้ในการป้องกันกำจัดเชื้อราโรคพืชและเชื้อราโรคเห็ด ส่งผลให้การเพาะเห็ดง่ายขึ้นได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น จากเมื่อก่อนหากก้อนเห็ดหรือกองเห็ดมีราเขียว ราดำ ราเหลืองเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้เห็ดไม่เกิดดอก ก้อนเห็ดต้องแยกไปทำลาย เสียหายเป็นจำนวนมาก โรคและศัตรูการเพาะเห็ดถุง

และใช้เชื้อพลายแก้ว ร่วมในการผลิตก้อนเชื้ออาหารเห็ดคุณภาพสูง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการปนเปื้อนของเชื้อราตั้งแต่แรกเริ่มของกระบวนทำก้อนอาหารเห็ด ให้ก้อนเชื้อมีความสะอาดปราศจากเชื้อราโรคเห็ด คุณภาพของเส้นใยสมบูรณ์แข็งแรงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและกลุ่มผู้ซื้อ ที่นำไปเปิดดอกจำหน่ายอีกต่อหนึ่ง ตัวอย่างสูตรอาหารการหมักขยายเชื้อ จะเลือกใช้สูตรใดก็ได้ขึ้นอยู่กับอาหารเชื้อที่หาได้ในท้องถิ่น ซึ่งสูตรแต่ละสูตรให้ปริมาณเชื้อต่อหน่วยอาหารไม่แตกต่างกันมากนัก

1.การขยายเชื้อพลายแก้วด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน
- ใช้มะพร้าวอ่อน 1 ผล เจาะเปิดฝาแง้มพอใส่เชื้อลงไปได้
- ใส่เชื้อพลายแก้ว 1-2 ช้อนชา ปิดฝาทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง (ดีที่สุด 36 ชม.)
- หมักครบเวลา นำมาผสมน้ำได้10-20 ลิตรแล้วจึงนำไปใช้ โดยฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณที่เป็นโรค หรือนำไปผสมในอาหารเห็ดตามสัดส่วนความชื้น

2.การขยายพลายแก้วโดย ใช้นมกล่องพาสเจอร์ไลท์ตามท้องตลาดทั่วไป 1 กล่อง (250 ซีซี.)
- เปิดฝาออกให้เทนมใส่ถุงพลาสติกสะอาด
- เติมเชื้อพลายแก้วตามลงไป 1-2 ช้อนชา นำไปผูกข้างหนึ่งอีกข้างเปิดปากถุงให้อากาศเข้าได้
- นำไปแขวน หมักทิ้งไว้24-48 ชั่วโมง ครบเวลานำมาผสมน้ำ 10-20 ลิตรแล้ว
- นำไปใช้ เทคนิคการใช้หากเชื้อราอยู่ก้นถุงอาจใช้ไซลิ้งเข็มฉีดยาดูดน้ำหมัก 5 ซีซี แล้วฉีดเข้าไปที่บริเวณเกิดโรค หากเป็นมากกรอกน้ำหมักเข้าไปให้ท่วมก้อน ทิ้งไว้1-2นาทีแล้วเทน้ำหมักออกให้สะเด็ด อย่าแช่นานเกินไปเพราะเส้นใยเห็ดจะขาดอากาศได้


3.บางฟาร์มใช้เชื้อหมักในปริมาณมาก อาจหมักรวมกันโดยเทน้ำมะพร้าวอ่อน หรือ นม ลงไปรวมกันแล้วใส่เชื้อตามอัตราส่วนของอาหาร โดยหมักในถังขนาดใหญ่ขึ้นหรือกะละมังที่สะอาด และต้องให้อากาศแบบตู้ปลานั่นคือมีสายออกซิเจนและหัวทรายกระจายอากาศให้ทั่ว เพราะเชื้อในตระกูลนี้เป็นเชื้อที่เจริญได้ดี ได้มาก ต้องใช้อากาศ หมักเป็นเวลา24-48 ชม. ครบเวลาค่อยผสมน้ำเปล่าแล้วนำไปใช้ การใช้ก็นำไปฉีดพ่นบริเวณที่เกิดโรคหรือนำไปรดหรือสเปรย์ผสมในอาหารก้อนขี้เลื่อยในเห็ดถุงโดยต้องคลุกเคล้าให้ทั่วให้เชื้อกระจายทั่วถึงในอาหาร และกะความชื้นให้พอเหมาะ หรือผสมรดสเปรย์ในฟางหมัก ,ทะลายปาล์มหมักสำหรับเพาะเห็ดฟาง

การหมักเชื้อจุลินทรีย์พลายแก้ว และไมโตฟากัส เพื่อใช้ในสูตรอาหารเพื่อผลิตก้อนเชื้อเห็ด
สูตรการหมักโดยทั่วไปคือ
- ใช้น้ำมะพร้าวอ่อน 1 ลูก หรือนมสด 1 กล่อง หรือนมผงที่ชงในน้ำอุ่นสำหรับเลี้ยงทารก 1 แก้ว
- เทเชื้อพลายแก้ว ใส่ถุงพลาสติกใหม่สะอาด ใส่เชื้อที่จะหมักลงไป 1 ช้อนชา ผูกข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งเปิดให้อากาศเข้าได้ นำไปแขวนหรือตั้งทิ้งไว้ เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ครบเวลานำไปผสมในสูตรอาหาร
หมายเหตุ:การหมักเชื้อจุลินทรีย์แต่ละชนิด ต้องหมักแยกภาชนะ ไม่หมักรวมกันเพราะเชื้อจะแย่งอาหารกันเอง แต่เมื่อหมักครบเวลาสามารถนำมาใช้รวมกันได้ เชื้อที่หมักครบเวลาเป็นเชื้อสดต้องใช้ทันที ไม่ึควรเก็บเอาไว้เพราะเชื้อจะแก่เกินไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม